ตำหนิพระเครื่อง"สมเด็จเกศไชยโย


ตำหนิพระเครื่อง"สมเด็จเกศไชยโย

1.มุมกรอบแม่พิมพ์เป็นปลายแหลมคล้ายปลายธงสะบัด
2.เส้นพระเกศตรงกลางป่องเล็กน้อย
3.พระเศียร และพระศอ ดูรวมๆคล้ายหัวไม้ขีด
4.จุดสำคัญ พระอุระ และพระอุทร(หน้าอก และท้อง) รวมกันดูคล้ายรากฟัน เนื้อส่วนหน้าอกจะเทลาดจากด้านซ้ายองค์พระลงไปทางด้านขวา  ทำให้ดูเหมือนองค์พระเบียงตัวไปทางขวาเล็กน้อย(ขวาองค์พระ)
5.ฐานบนสุดโค้งคล้ายเรือ
6.ถ้าพิมพ์ติดชัดจะมีติ่งแหลมจากเส้นซุ้มตรงนี้
7.ขอบกระจกด้านล่างขวามือของเราส่วนใหญ่ มักจะเป็นแอ่งท้องช่าง
8.เอกลักษณ์ฐานพิมพ์  7  ชั้นนิยม  คือฐานชั้นที่ 3  จากล่างจะตกท้องช้างบริเวณนี้
9.เส้นขอบแม่พิมพ์ และเส้นซุ้มด้านขวาองค์พระจะชิดกันมากกว่าด้านซ้า
ตำหนิพระเครื่อง"สมเด็จเกศไชยโย

ตำหนิพระเคื่อง วันนี้โคจร มาพบกับ พระวัดพลับ หรือชื่อเป็นทางการว่า "วัดราชสิทธาราม" เขตบางกอกน้อย กรุงเทพฯ (ฝั่งธนบุรี) นับเป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดี โดยเฉพาะในแวดวงนักนิยมสะสมพระเครื่องและพระบูชา เนื่องจากเป็นแหล่งกำเนิดพระเนื้อผงที่เรียกได้ว่าเป็นยอดนิยม เรียกขานกันในนาม "พระวัดพลับ"

มีเรื่องราวเล่าขานต่อๆ กันมา ถึงต้นสายปลายเหตุของการค้นพบว่า ...

กาลครั้งหนึ่ง ได้มีกระรอกเผือกตัวหนึ่งมาวิ่งเล่นอยู่ที่บริเวณลานวัดพลับ ด้วยความสวยงามของมัน เป็นที่สะดุดตาของพระสงฆ์ สามเณร และชาวบ้านในบริเวณนั้นอย่างมาก จึงช่วยกันไล่จับ เจ้ากระรอกเผือกก็ได้หนีเข้าไปในโพรงพระเจดีย์ ชาวบ้านก็ช่วยกันกระทุ้งโพรงเพื่อให้กระรอกเผือกออกมา แต่แล้วเหตุการณ์ไม่คาดคิดก็เกิดขึ้น ได้ปรากฏพระพิมพ์จำนวนมากไหลออกมาจากโพรงพระเจดีย์ ถึงขนาดต้องเอากระบุงหลายใบมา รองใส่และเก็บรักษาไว้ ซึ่งนับได้ว่าเป็นการแตกกรุครั้งแรกและครั้งยิ่งใหญ่

ต้องขอบคุณเจ้ากระรอกเผือกตัวน้อย ที่นำพาไปพบกับสุดยอดวัตถุมงคล 'พระวัดพลับ' และนี่ก็คงเป็นที่มาของชื่อกรุพระเจดีย์ว่า 'กรุกระรอกเผือก' นั่นเอง

ต่อมาท่านเจ้าอาวาสวัดพลับจึงเปิดกรุพระเจดีย์อย่างเป็นทางการ ปรากฏว่ามีโพรงใหญ่อยู่กลางพระเจดีย์ และพบ "พระวัดพลับ" อีกเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ยังพบ "พระสมเด็จอรหัง" อีกจำนวนหนึ่งด้วย มีทั้งพิมพ์สามชั้นและพิมพ์ฐานคู่ สำหรับพระสมเด็จอรหังนั้น สมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) เป็นผู้สร้าง

ก่อนที่ท่านเจ้าประคุณสมเด็จจะไปครองวัดมหาธาตุเคยเป็นเจ้าอาวาสวัดพลับมาก่อน ประกอบกับพระวัดพลับเป็นพระเนื้อผงสีขาว และมีส่วนผสมคล้ายคลึงกับพระสมเด็จอรหังมาก จึงสันนิษฐานได้ว่า "พระวัดพลับ" ก็น่าจะสร้างโดยท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชสุก (ไก่เถื่อน) เจ้าตำรับพระผงเช่นกัน

เนื้อหามวลสารของพระวัดพลับและพระสมเด็จวัดระฆังฯ จะดูคล้ายคลึงกันมาก คือ เนื้อขององค์พระเป็นสีขาว มีความหนึกนุ่ม และมีรอยแตกร้าวแบบไข่นกปรอท จะมีความแตกต่างกันตรงที่พระวัดพลับบางองค์จะมีรอยรานของเนื้อพระอันเกิดจากความร้อน ซึ่งพระสมเด็จวัดระฆังฯจะไม่ปรากฏรอยรานเลย แต่ก็ไม่ถือเป็นเอกลักษณ์สำหรับพระวัดพลับทุกองค์

การพิจารณาผิวของ "พระวัดพลับ" ที่บรรจุอยู่ในกรุเจดีย์กระรอกเผือกเป็นเวลานานนับร้อยกว่าปีนั้น ให้ดูที่สีผิวขององค์พระจะค่อนข้างขาว ปรากฏเป็นคราบน้ำ ตกผลึกเป็นสีขาวและสีเหลืองอ่อนเจือปนที่เรียกกันว่า 'ฟองเต้าหู้' สันนิษฐานว่า เกิดจากคราบน้ำในกรุหรือคราบน้ำฝนที่รั่วไหลเข้าไปในกรุ ทำปฏิกิริยากับเนื้อพระที่มีส่วนผสมของปูนขาว เมื่อกาลเวลาผ่านไปจึงเกิดเป็นหินปูน พระบางองค์ดูเหมือนมีเนื้องอกขึ้นจากพื้นผิวขององค์พระเป็นเม็ดๆ อันเกิดจากสภาพของกรุพระเจดีย์ ซึ่งตอนกลางวันได้รับความร้อน พระในกรุก็จะอมความร้อนไว้ เมื่อกระทบกับน้ำที่ซึมเข้ามาในกรุผสมกับปูนขาว จึงกลายเป็นปูนเดือดบนองค์พระและตกตะกอนเป็นเม็ดๆ คล้ายเนื้องอก แต่จะเป็นที่พื้นผิวเท่านั้นไม่ได้เกิดจากเนื้อขององค์พระ เมื่อขูดเอาเนื้องอกส่วนนั้นออก ผิวขององค์พระก็จะเรียบเหมือนเดิมทุกประการ

พระวัดพลับที่พบมีมากมายหลายพิมพ์ และได้รับการขนานนามกันไปต่างๆ ตามพุทธลักษณะขององค์พระ อาทิ พิมพ์วันทาเสมา หรือพิมพ์ยืนถือดอกบัว, พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่, พิมพ์ตุ๊กตาใหญ่ชะลูด, พิมพ์ตุ๊กตาเล็ก, พิมพ์พุงป่องใหญ่ พิมพ์ 1, พิมพ์พุงป่องใหญ่ พิมพ์ 2, พิมพ์พุงป่องเล็ก เข่าชั้นเดียว, พิมพ์พุงป่องเล็ก เข่าสองชั้น, พิมพ์สมาธิใหญ่, พิมพ์สมาธิใหญ่ แขนโต, พิมพ์สมาธิเข่ากว้าง, พิมพ์พระภควัมบดีใหญ่, พิมพ์พระภควัมบดีเล็ก ฯลฯ

นอกจากจะพบที่ 'กรุกระรอกเผือก วัดพลับ' แล้ว ได้มีการค้นพบบรรจุอยู่ใน 'กรุพระเจดีย์ วัดโค่ง จังหวัดอุทัยธานี' สันนิษฐานว่า ได้มีการนำไปบรรจุไว้แต่มีจำนวนไม่มากนัก และเนื่องด้วยสภาพกรุพระเจดีย์ทั้งสองแตกต่างกัน ส่งผลให้สภาพพื้นผิวขององค์พระทั้งสองวัดมีความแตกต่างกัน คือ "พระวัดพลับ กรุกระรอกเผือก วัดพลับ" องค์พระจะเป็นสีขาว และมักจะมีฟองเต้าหู้หรือเนื้องอก

ส่วน "พระวัดพลับ กรุวัดโค่ง" ผิวขององค์พระจะมีขี้กรุสีน้ำตาลแก่ และขี้กรุจะแข็งมากเหมือนกับขี้กรุของพระสมเด็จวัดบางขุนพรหม

ถึงแม้การสร้างองค์พระของ 'พระวัดพลับ' จะดูแบบง่ายๆ ไม่มีรายละเอียดมากนัก แต่ก็เป็นที่น่าอัศจรรย์ที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจได้มากมาย เมื่อมองแล้วจะเกิดความรู้สึกลึกซึ้งนุ่มนวล ซึ่งอาจจะเป็นอีกเหตุผลหนึ่งนอกเหนือจากความเก่าและพุทธคุณอันเลิศล้ำ ที่ทำให้พระวัดพลับได้รับความนิยมอย่างสูง

ตำหนิพระ เหรียญระฆัง หลวงพ่อเกษม ปี 16



เหรียญหลวงพ่อเกษม เขมโก รุ่นระฆัง 2516 ลำปาง
ด้านหน้า
1 พื้นเหรียญทั่วไปจะมีเส้นรัศมีกระจายทั่วเหรียญ
2.หากเป็นบล็อกนิยมจะมีเส้นเสาอากาศอยู่บนพื้นเหรียญเหนือไหล่ซ้ายวิ่งขี้นไป
3.มีเม็ดละอองข้างหูซ้ายหลวงพ่อ
4.มีเม็ดเล็ก ๆ ใต้มือหลวงพ่อ
ด้านหลัง
ด้านหลังเหรียญมีหลายพิมพ์ตำหนิหรือรายละเอียดอาจแตกต่างกัน
ควรพิจารณาถึงความคมชัดของตัวหนังสือเป็นสำคัญ
1.ตัวหนังสือคมชัด
2.ตัวนะมีขีดเล็ก ๆ
3.มีขนแมวเล็ก ๆ อยู่ตรงมุมด้านขวา 2516 ของเหรียญครับ










ประวัติการสร้าง เหรียญระฆัง หลวงพ่อเกษม ปี 16
เหรียญสิริมงคลทรงระฆัง เหรียญนี้นับเป็นเหรียญสุดท้ายในชุด “เบญจบารมี” ซึ่งมีบารมีในด้านโชคลาภบันดาลความรุ่งเรือง คำว่าสิริมงคลนี้ หากจะแปลตามศัพท์สิริ ก็จะแปลว่าความดีความงาม และโชคลาภคำว่ามงคลแปลว่า ความเจริญรุ่งเรือง มูลเหตุของการสร้างเหรียญสิริมงคลนั้น มาจากเรื่องตำนานเจ้าแม่สุชาดา โดยเล่าสืบต่อกันมาว่า เมื่อครั้งกระโน้น มีหญิงผู้หนึ่งชื่อนางสุชาดา ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำวัดพระแก้ว นางสุชาดาผู้นี้ทำไร่และสวน มีผลหมากรากไม้สมบูรณ์ นางมีความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก ด้วยเหตุนี้ เมื่อได้พืชผลจากที่เพราะปลูกไว้ ก็พยายามเก็บเอาไปถวายพระสงฆ์ในวัดพระแก้ว นางได้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบเช่นนี้เสมอมา กระทั่งอยู่มาวันหนึ่งเกิดมีผู้มีจิตริษยากล่าวหาว่านางทำชู้กับพระสงฆ์ในวัดนั้น นางก็เลยถูกประชาชนนำไปประหาร แต่ก่อนนางจะตาย นางประกาศเป็นคำสาปไว้ว่าถ้านางเป็นผู้บริสุทธิ์ ผู้ที่ลงโทษนางจะต้องได้รับกรรมไปตลอดจนถึงชั่วลูกชั่วหลาน กาลสืบต่อมา ชาวบ้านก็รู้ความจริงว่านางสุชาดาบริสุทธิ์ คำสาปนี้จึงติดความทรงจำ ลูกหลานเหลนผู้ที่ลงโทษนาง ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว ลูกหลานเหลนไม่ได้ก่อกรรมไว้ด้วยไม่น่าจะต้องมารับผิดชอบ โดยไม่มีเวลาสิ้นสุด หลวงพ่อเกษมท่านทราบเรื่องราวและความเป็นมาดังนี้ จึงตั้งใจสร้างเหรียญสิริมงคล หารายได้เข้าวัดโดยการจัดสร้างเป็นศาลาเพื่อลบล้างคำสาปให้หมดสิ้นไป นอกจากนั้นเมื่อมีรายได้เหลือก็ได้สร้างสิ่งที่เป็นสาธารณะประโยชน์แก่คนทั้งหลายอีกด้วย วันหนึ่งขณะที่กำลังดำเนินการสร้างเหรียญเพื่อสิริมงคล มีลูกศิษย์ท่านหนึ่งเรียนถามหลวงพ่อว่า จะสร้างเป็นรูปอะไรดี หลวงพ่อก็ตอบว่า “สร้างเป็นรูประฆังจะดังดี”







ตำหนิพระเครื่อง พระชุ้มกอมีลายกนก


พระชุ้มกอมีลายกนก

1.พระเกศ(ผม)องค์ที่ติดชัดเจนจะเหมือนดอกบัว
ตูม

2.พระกำแพงชุ้มกอกำแพงเพชรทุกพิมพ์จะต้องมีเส้น
ซุ้มประภามฑล

 3.ขอบด้านบนขวา(องค์พระ) มีศิลปะแม่พิมพ์ที่ม้วนตลบจากด้านหลังมาด้านหน้า

4.กนกหางนาค ลายกนกด้านบนติด
เฉพาะก้าน ดูแล้วเหมือนหางพญานาค

5.เส้นขอบจีวร ตวัดชอนลึกเข้าในซอกรักแร้ขวา

6.องค์ที่ติดชัดจะเห็นกำไร ข้อพระบาท(เท้า) และ พระเพลาขัดสมาธิราบ

 7.เส้นเท้าช้ายจะอ่อนพลิ้วสวยงาม ไม่แข็งทื่อ องค์ที่ติดชัดเจนเท้าจะตวัดงอโค้งขึ้นไปชนเข่า

8.บัวเล็บช้าง สังเกตุดูดีๆจุดนี้จะดูเหมือนเล็บช้าง จะมี 5 กลีบด้วยกัน

9.มือขัดสมาธิ มือด้านซ้ายจะอยู่ด้านล่าง และ องค์ที่ติดชัดจะเห็นหัวแม่มือด้วย

10.ชอกรักแร้ทั้ง 2 ด้านจะลึกมาก

11.องค์ที่ติดชัด จะเห็นตาทั้งสองข้างชัดเจนมาก และ ปากส่วนมากจะไม่ค่อยติดชัด

12.ลายกนกช้ายจะมองคล้ายเศียรพญานาค ส่วนมากที่จะมองเห็นชัดคล้ายเศียรพญานาคมี 2 -3 กนกเท่านั้น

13.จะเห็นรอยยุบที่หน้าผากใต้เส้นครอบเศียรพระ

ตำหนิพระเครื่อง พระรอดพิมพ์ต้อ มหาวัน


ตำหนิพระเครื่อง พระรอดพิมพ์ต้อวัดมหาวัน
1.ก้านโพธิ์เป็นเส้นตรงบางพิมพ์เชื่อมติดเกศ
2.เกศสะบัดคล้ายเปลวเพลิง
3.โพธิ์รูปคมขวาน
4.ปีกพระด้านข้าง
5.หัวแม่มือมีรอยถูกสับ
6.โพธิ์มีรูปคล้ายสี่เหลี่ยม
7.มีลักษณะคล้ายตัวเอ็ม
8.มีกรพุ้งแก้ม
9.มีเนื้อเกินยื่นมาด้านหน้า

ตำหนิพระปิดตาหลวง ปู่โต๊ะ


ตำหนิพระปิดตาหลวง ปู่โต๊ะ 


ตำหนิพระปิดตาหลวง ปู่โต๊ะ 

ตำหนิพระสมเด็จบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่


ตำหนิพระสมเด็จบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่
ตำหนิพระสมเด็จบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่

ตำหนิพระ พระสมเด็จ 100 ปีวัดระฆัง พิมพ์เส้นด้าย นิยม

                                   ตำหนิพระ พระสมเด็จ 100 ปีวัดระฆัง พิมพ์เส้นด้าย นิยม
ตำหนิพระ พระสมเด็จ 100 ปีวัดระฆัง พิมพ์เส้นด้าย นิยม

ตำหนิพระเครื่อง พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่


ตำหนิพระเครื่อง พระสมเด็จวัดระฆัง พิมพ์ใหญ่

     1. ให้สังเกตเส้นซุ้มครอบแก้วเป็นอันดับแรก คือ เส้นซุ้มครอบแก้วทั้งเส้นซ้ายและเส้นขวามือพระ จะโย้ไปทางซ้ายมือพระทั้งหมด จึงทำให้เกิดดังนี้ เส้นกรอบแม่พิมพ์ทางขวามือพระซึ่งเป็นเส้นนูนเส้นเล็ก ๆ ลากลงมาจากด้านบนและจะเริ่มแนบเส้นซุ้มครอบแก้ว ตั้งแต่บริเวณหัวเข่าขวาพระจรดเส้นซุ้มด้านล่างสุด

     2. ส่วนเส้นกรอบตำหนิพระเครื่องแม่พิมพ์ทางด้านซ้ายมือพระจะลากลงมาจากด้านบนและจะแนบเส้นซุ้มครอบแก้วตั้งแต่กึ่งกลางแขนถึงปลายข้อศอกซ้ายพระและจะกลืนหายไปกับเส้นซุ้มครอบแก้ว

     3. เกศตำหนิพระเครื่องพระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ จะเป็นปลีเรียวเล็ก คือโคนเกศจะใหญ่กว่าปลายเกศเล็กน้อย และจะพุ่งขึ้นจรดซุ้มทุกแม่พิมพ์ของพิมพ์ใหญ่ และเกศจะเอียงไปทางซ้ายพระเล็กน้อย

     4. รูปหน้าของสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ จะคล้ายผลมะตูม เฉพาะบางแม่พิมพ์จะมีโหนกยื่นทางแก้มขวาพระ ส่วนถ้าแม่พิมพ์กดได้ลึกคมชัด จะเห็นหูซ้ายพระเป็นเส้นทิ้งตรงลงมา แต่จะเห็นแบบราง ๆ เท่านั้น

     5. ให้สังเกตความกว้างของรักแร้ คือความกว้างจากรักแร้ถึงหัวไหล่ ด้านบนทางด้านขวามือพระจะหนา ส่วนทางด้านซ้ายมือพระจะบางกว่า

     6. ให้สังเกตลำตัวและวงแขนพระจะนั่งบิดตัวไปทางขวาเล็กน้อยและแขนขวาพระจากหัวไหล่ถึงข้อศอกจะแลดูสั้น ส่วนทางซ้ายพระจากหัวไหล่ถึงข้อศอก จะแลดูยาวกว่า

     7. ซอกรักแร้ข้างซ้ายพระช่างจะแกะแม่พิมพ์ลึกกว่าข้างขวามือพระและจะแกะแม่พิมพ์ให้ลาดเอียงจากข้างเอวพระทั้งสองข้างจะตื้น และลาดลงลึกสุดที่รักแร้พระ

     8. หัวฐานชั้นบนสุดข้างซ้ายพระจะเตี้ยกว่าหัวเข่าข้างซ้ายพระเล็กน้อย และหัวฐานนี้จะยาวกว่าหัวเข่าเล็กน้อย ส่วนหัวเข่าด้านขวาพระจะเตี้ยกว่าหรือแค่เสมอหัวฐานชั้นบนข้างขวาพระ

     9. หัวฐานชั้นล่าง ด้านขวามือพระช่างจะแกะแม่พิมพ์เฉียงเล็กน้อย และหัวฐานเกือบชิดเส้นซุ้ม

     10. หัวฐานชั้นล่างด้านซ้ายมือพระ ช่างจะแกะหัวฐานค่อนข้างตรงและห่างเส้นซุ้ม

     11. พื้นที่ ตำหนิพระเครื่องลองส่องพระย้อนกลับคือให้ส่องจากเกศพระไล่ลงมาจะได้เห็นสิ่งที่ไม่เคยเห็นคือ พื้นที่ตั้งแต่เกศจะต่ำและลาดสูงขึ้นไปจนถึงข้างแขนพระทั้งด้านซ้ายและด้านขวา

     12. แขนซ้ายพระตั้งแต่หัวไหล่ถึงข้อศอกช่างจะแกะแม่พิมพ์ต่ำกว่าข้างขวาพระและแกะหัวไหล่ต่ำลาดสูงขึ้นไปจนถึงข้อศอก

     13. ร่องฐานระหว่างหน้าตักกับฐานชั้นบน ร่องฐานทางขวาจะตื้นและลาดลง จะลึกสุดคือปลายด้านซ้าย

     14. ร่องฐานระหว่างฐานชั้นบนกับฐานชั้นกลาง พื้นที่ในร่องฐานจะเสมอภายนอก
ตำหนิพระเครื่อง

ตำหนิพระเครื่อง นักกล้าม วัดปราสาทเยอร์

ตำหนิพระเครื่อง หลวงพ่อมุม นักกล้าม วัดปราสาทเยอร์



ตำหนิพระเครื่อง นักกล้าม วัดปราสาทเยอร์

ตำหนิพระเครื่อง พระคงดำล้ำค่า

ตำหนิพระเครื่อง พระคงดำล้ำค่า
1.เส้นคู่ด้านขวาพระเครื่องคงดำ จะมีระดับสูงกว่าด้านซ้า้ย
2.ตำหนิพระคงดำ    กึ่งกลางใบโพธิ์ด้านบนซ้าย คู่นี้ชิดกัน
3.ตำหนิพระเครื่อง มือซ้ายมีติ่งเฉียงขึ้นคล้ายกับหัวมือมือ
  4ตำหนิ.แขนซ้ายท่อนบนด้านในมีเนื้อล้น ติดซอกแขนซ้าย
   5.ปลายนิ้วมือซ้ายมีติ่งแหลมจรดแขนขวาตำหนิพระ คงดำ)
6.ปลายฐาน ทั้ง4 ชั้นแหลมจรดกรอบ  (ตำหนิพระ คงดำ)
   7.ระหว่างบัวเม็ดที่ 5-6 มีเส้นแตกแนวดิ่ง(ตำหนิพระ คงดำ)
8.บัวชั้นล่าง 2 เม็ดจะร่นขึ้นบน          ( ตำหนิพระ คงดำ)